วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การแสดงรำวงมาตรฐาน (ต่อ)...



อย่าเพิ่งคิดว่ามันยากอยางที่เห็นนะคะ....ลองฝึกปฏฺบัติดู     แล้วจะรู้ว่า... "ง่ายนิดเดียวเอง"




รำวงมาตรฐาน




ประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน


         "รำวงมาตรฐาน" เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก "รำโทน" (กรมศิลปากร, 2550 : 136-143)  เป็นการรำและการร้องของชาวบ้านซึ่งมีผู้รำทั้งชายและหญิง รำกันเป็นคู่ ๆ รอบ ๆ ครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำและร้องเป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนกำหนดไว้ คงเป็นการรำและร้องง่าย ๆ มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี เพลงยวนยาเหล เพลงหล่อจริงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด เป็นต้น ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า รำโทน 

         ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.2487 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติและเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบทั้งเพลงร้อง ลีลาท่ารำ และการแต่งกายจะทำให้การเล่นรำโทนเป็นที่น่านิยมมากยิ่งขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงรำโทนเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐาน มีการแต่งเนื้อร้องทำนองเพลง และนำท่ารำจากเพลงแม่บทมากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะ แต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน


 

การแต่งกาย

           การแต่งกายมีการกำหนดการแต่งกายของผู้แสดง ให้มีระเบียบด้วยการใช้ชุดไทย และชุดสากลนิยมโดยแต่งเป็นคู่ ๆ รับกันทั้งชายและหญิง สามารถแต่งได้ 4 แบบ คือ
แบบที่ 1 แบบชาวบ้าน

ชาย   :  นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอพวงมาลัย เอวคาดผ้าห้อยชายด้านหน้า
หญิง  :  นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบอัดจีบ ปล่อยผม ประดับดอกไม้ที่ผมด้านซ้าย 
            คาดเข็มขัด  ใส่เครื่องประดับ
แบบที่ 2 แบบรัชกาลที่ 5

ชาย   :  นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคด ราชปะแตน ใส่ถุงเท้า รองเท้า
หญิง  :  นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ สไบพาดบ่าผูกเป็นโบว์ ทิ้งชายไว้ข้างลำตัว
            ด้านซ้าย ใส่เครื่องประดับมุก
แบบที่ 3 แบบสากลนิยม

ชาย :  นุ่งกางเกง สวมสูท ผูกไท้
หญิง :  นุ่งกระโบรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้า ใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอก
แบบที 4 แบบราตรีสโมสร


ชาย :  นุ่งกางเกง สวมเสื้อพระราชทาน ผ้าคาดห้อยจากด้านหน้า
หญิง :  นุ่งกระโปรงยาวจีบหน้านาง ใส่เสื้อจับเดรป ชายผ้าห้อยจากบ่าลงไป 
          ทางด้านหลังเปิดไหล่ขวา ศีรษะทำผมเกล้าเป็นมวยสูง ใส่เกียว และ เครื่องประดับ



เพลงมาตรฐาน  มีทั้งหมด 10 เพลง

1. เพลงงามแสงเดือน

ท่ารำ : สอดสร้อยมาลา (ช/ญ)
           งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ (2 เที่ยว)
เราเล่นเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย





 

 

 

2. เพลงชาวไทย

ท่ารำ : ท่าชักแป้งผลัดหน้า (ช/ญ)
           ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย.

 

 


 



 


3. เพลงรำมาซิมารำ

ท่ารำ : รำส่าย (ช/ญ)
           รำซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานจริงๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึ่งจะคมขำ
มาซิเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย.





 


4. เพลงคืนเดือนหงาย

ท่ารำ : สอดสร้อยมาลาแปลง (ช/ญ)
          ยามกลางเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยโบกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย

 

 

 

 



5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ

ท่ารำ : แขกเต้าเข้ารัง , ผาลาเพียงไหล่ (ช/ญ)
           ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา
ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา
แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า
ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย
งามเอยแสนงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม
วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ
รูปทรงสมส่วนยั่วยวนหทัย สมเป็นดอกไม้ขวัญใจชาติเอย






 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. เพลงดอกไม้ของชาติ

ท่ารำ : รำยั่ว (ช/ญ)
          ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาฏร่ายรำ (๒ เที่ยว)
เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฏศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาถิ่น เจริญวัฒนธรรม
งานสุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย
ดำเนินตามนโยบาย สู่ทนเหนื่อยยากตรากตรำ






7. เพลงหญิงไทยใจงาม

ท่ารำ : พรหมสี่หน้า , ยูงฟ้อนหาง (ช/ญ)
           เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ
แสงดาวประดับ ส่องให้เดือนงามเด่น
ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ
คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม
ขวัญใจ หญิงไทยส่องศรีชาติ
รูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนาม
เกียรติยศ ก้องปรากฏทั่วคาม
หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว













 

 

8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า

ท่ารำ : ช้างประสานงา , จันทร์ทรงกลดแปลง (ช/ญ)
           ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่
จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ
ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย
ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย.



 



















9. เพลงยอดชายใจหาญ

ท่ารำ : หญิง ชะนีร่ายไม้ ชาย จ่อเพลิงกาฬ
           โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี
น้องมาร่วมชีวี กอบกรณีกิจชาติ
แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม
น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ.




 

10. เพลงบูชานักรบ

ท่ารำ :ใช้ท่า ชาย จันทร์ทรงกลด / ขอแก้ว หญิง ขัดจางนาง / ล่อแก้ว
          น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ ่ น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ
บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
น้องรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต
เลือดเนื้อที่พลีอุทิศ ชาติคงอยู่คงอยู่คู่พิภพ



 



















ข้อสอบวิชา นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4




ข้อสอบโรงเรียนอนุชนศึกษา   อ.ท่ามะกา   จ.กาญจนบุรี
วิชา/กลุ่มสาระกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  (ดนตรี-ศิลปะ)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

คำสั่ง  ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย X ทับข้อที่ถูกต้องที่สุด เพียงข้อเดียว
1.   นาฏยศัพท์ หมายถึงข้อใด
ก.      ศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะท่ารำ
ข.      ศัพท์ที่ใช้เรียกลักษณะดนตรี
ค.      ศัพท์ที่ใช้เรียกคำพูดของนาฏศิลป์
ง.       ศัพท์ที่ใช้เรียกจังหวะ
2.    ข้อใดคือความหมายของภาษาท่า
ก.      ภาษาที่บอกการกระทำ
ข.      ภาษาที่บอกความสวยงาม
ค.      ภาษาที่บอกแทนการพูด
ง.       ภาษาที่บอกกิริยาของมนุษย์
3.    การแสดงเซิ้งกระติบ เป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคใด
ก.      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ข.      ภาคกลาง
ค.      ภาคใต้
ง.       ภาคเหนือ
4.   ข้อใดคืออุปกรณ์ของเซิ้งกระติบ
ก.      สุ่ม
ข.      เคียว
ค.      กระติบข้าวเหนียว
ง.       สวิง
5.   ฟ้อนเงี้ยวเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคใด
ก.      ภาคใต้
ข.      ภาคเหนือ
ค.      ภาคตะวันออก
ง.       ภาคกลาง

6.   ข้อใดคือเครื่องดนตรีประกอบการแสดงฟ้อนเงี้ยว
ก.      ฉิ่ง  ฉาบ
ข.      กรับ  กลอง
ค.      ฉิ่ง  โหม่ง
ง.       ฉาบ  กลอง
7.   ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ไทยมีความหมายตรงกับข้อใด
ก.      การร่ายรำที่นุ่มนวล
ข.      การร่ายรำที่มีชั้นเชิง
ค.      การร่ายรำที่มีรูปแบบ
ง.       การร่ายรำอย่างอิสระ
8.   คำที่ใช้เรียกชื่อลักษณะหรือกิริยาท่าทางการแสดงนาฏศิลป์ไทย คือคำใด
ก.      นาฏศิลป์
ข.      นาฏยศัพท์
ค.      ศิลปะ
ง.       ศิลปะศาสตร์
9.   ข้อใดคือความหมายของเพลงเราสู้
ก.      รักตัวเอง
ข.      รักญาติพี่น้อง
ค.      รักชาติ
ง.       รักพ่อแม่
10.  การจีบที่ถูกต้องมีลักษณะอย่างไร
ก.      นิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อแรกของนิ้วชี้
ข.      นิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อที่สองของนิ้วชี้
ค.      นิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อแรกของนิ้วกลาง
ง.       นิ้วหัวแม่มือจรดที่ข้อที่สองของนิ้วกลาง
11.   เพลงปลุกใจมีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ก.      เพื่อเสริมสร้างจิตใจให้เป็นนักสู้ที่เข้มแข็ง
ข.      เพื่อเสริมสร้างให้เป็นพลังกาย
ค.      เพื่อเสริมสร้างให้เป็นบุคลิกภาพที่ดี
ง.       เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้สมบูรณ์
12.  ใครเป็นผู้พระราชนิพนธ์ เพลงเราสู้
ก.      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข.      พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ค.      พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง.       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
13.   ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีทั้งหมด
ก.      ฆ้อง ปี่ชวา
ข.      ฉิ่ง กลองใหญ่
ค.      จระเข้ กลองทัด
ง.       ซอด้วง ระนาดเอก       
14.    ขลุ่ยเพียงออทำให้เกิดเสียงด้วยวิธีใด
ก.      ดีด
ข.      ตี
ค.      สี
ง.       เป่า
15.   ข้อใดเป็นเครื่องดนตรีสากลทั้งหมด
ก.      โปงลาง ฟลุต
ข.      ไวโอลิน กีต้าร์
ค.      กลองแขก
ง.       ขลุ่ย ทรัมเป็ต
16.   จังหวะในข้อใดเป็นจังหวะเร็ว
ก.      [-ฉิ่ง-ฉับ|ฉิ่ง-ฉับ]
ข.      [---ฉิ่ง|---ฉับ]
ค.      [--ฉิ่ง-|—ฉับ-]
ง.       [--ฉับ-|—ฉิ่ง-]
17.  โน้ตตัวใดที่มีอัตราความยาวเสียงสั้นที่สุด
ก.      ตัวกลม
ข.      ตัวขาว
ค.      ตัวดำ
ง.       เขบ็ด 1 ชั้น
18.  โน้ตตัวใดที่มีอัตราจังหวะมากที่สุด
ก.      ตัวกลม
ข.      ตัวขาว
ค.      ตัวดำ
ง.       เขบ็ด 1 ชั้น
19.   ต้องเขียนตัวขาวกี่ตัวถึงจะครบ 4 จังหวะ
ก.      1 ตัว
ข.      2 ตัว
ค.      3 ตัว
ง.       4 ตัว
20.   ข้อใดเขียนสัญลักษณ์โน้ตตัว ซอล ฟา ลา โด ถูกต้อง
ก.      ซ ล ด ฟ
ข.      ด ล ซ ฟ
ค.      ซ ฟ ล ด
ง.       ด ม ฟ ซ



วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคง่ายๆของการแต่งหน้า..

 


         เทคนิคง่ายๆ....ของการแต่งหน้านางรำ  ไปลองฝึกฝีมือกันดูนะคะ ><